วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

จิตรกรรมกับพระพุทธศาสนา

จิตรกรรมเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างไร

จิตรกรรมหรือภาพเขียนฝาผนังที่อยู่ในโบสถ์และวิหาร มักจะแสดงเรื่องราวที่น่าสนใจ ต่าง ๆ ซึ่งต้องการถ่ายทอดออกสู่สังคม นอกจากนั้นยังสะท้อนให้เห็นถึงการ
ทำงานเป็นคณะอย่างมีระบบ กล่าวคือ ในการสร้างโบสถ์วิหารของวัดใดวัดหนึ่ง ผู้ที่ทำ งานประสานกันจะประกอบด้วยช่างฝีมือแขนงต่างๆ เช่น สถาปนิกผู้ออกแบบโบสถ์ นายช่างตกแต่งภายในโบสถ์ ช่างปั้น และช่างเขียน เป็นต้น



พระประธานนับเป็นองค์ประกอบด้วยการปั้นและสร้างพระประธานในโบสถ์จึงถือเป็นงานที่สำคัญที่สุด การออกแบบและปั้นฐานพระประธานจะเป็นงานรองจากการส ร้างพระประธาน เพราะต้องออกแบบฐานซึ่งประดิษฐ์องค์ประธานตามลักษณะและขนาดของพระประธานขนาดของโบสถ์และพระประธานต้องมีความสมดุลกัน


ช่างเขียนซึ่งทำงานจิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์จะต้องสร้างงานในลักษณะส่งเสริมองค์พระประธาน ส่วนมากพระประธานในโบสถ์จะมีขนาดใหญ่มาก เพราะฉนั้นช่างเขียนที่เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังจะต้องรู้จักประมาณตน จะต้องไม่แสดงความอวดเก่งเพื่อแสดงความสำคัญเฉพาะงานของตน การวางเค้าโครงเรื่องราวของภาพจิตรกรรมก็ดี การวางโครงสร้างของสีและขนาดสัดส่วนของคน สัตว์และสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งประกอบเป็นเรื่องราวก็ดี ต้องวางเค้าโครงในลักษณะที่ส่งเสริมองค์พระประธานให้มีลักษณะเด่น เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าภาพเขียนฝาผนังในโบสถ์วิหารต่าง ๆ ทำให้ เราเกิดความรู้สึกสงบร่มเย็น ทั้งนี้เพราะมีการวางเค้าโครงของการใช้สี เส้น รูปทรงต่าง ๆ ของภาพจิตรกรรมแวดล้อมพระประธาน อย่างถูกต้อง

วิชาสุนทรียศาสตร์...คำถามท้ายบท

1. สุนทรียศาสตร์จัดอยู่ในปรัชญาสาขาใด
ตอบ จัดอยู่ในปรัชญาสาขา Axiology เป็นวิชาที่ว่าด้วยคุณค่าต่างๆ ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง และมนุษย์เข้าใจซาบซึ้งถึงคุณค่านั้น ด้วยกระบวนการทางญาณวิทยาคุณค่าที่กำหนดให้ศึกษาในวิชาปรัชญานี้มี 4 ประการ คือ 1. ความดี (จริยศาสตร์) 2. ความงาม ( สุนทรียศาสตร์)
3. ความจริง (ตรรกวิทยา)และ 4. ความบริสุทธิ์ของจิตใจ ( เทววิทยา)
2.สุนทรียศาสตร์กับจริยศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สุนทรียศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าความงามตรงกับคำว่า Aesthetic หมายถึง การรับรู้อันเป็นกระบวนการ ประสาทสัมผัส ระหว่างสิ่งเร้าภายนอกกับอวัยวะสัมผัสภายในทำให้เกิดความรู้สึก นำไปสู่อารมณ์สุนทรีย์จริยศาสตร์ Ethics เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา ศึกษาเรื่องความประพฤติที่เกี่ยวข้อง สิ่งใดถูกหรือผิด สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำเน้นคุณค่าของพฤติกรรม คุณค่าของชีวิต
3.ความงามตามทัศนะของท่านหมายถึงอะไร
ตอบ ความงามแนวคิดของปรัชญา
ความงาม คือ คุณค่าอย่างหนึ่งของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสของมนุษย์อาจจะเห็นเป็นรูปรส กลิ่น เสียง กายสัมผัส แล้วก่อให้เกิดอารมณ์ ความพึงพอใจ ให้เป็นสุข ความงามเกี่ยวข้องกับอารมณ์มากกว่าเหตุผล
ความงามตามทัศนนะของข้าพเจ้า คือ ความงามตามธรรมชาติที่มีต่อวัตถุ สิ่งของ เช่น ที่มนุษย์ขึ้น เครื่องประดับ สิ่งของเครื่องใช้ รูปปั้นงานศิลปะที่สวยงามที่มนุษย์สร้างขึ้น ความงามเป็นสิ่งไม่ตายตัว ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ชมแต่ละคนว่าจะมองความงามในแต่ละด้านอย่างไร

4. สุนทรียธาตุคืออะไรมีความหมายครอบคลุมอะไรบ้าง
ตอบ สุนทรียธาตุ คือ ธาตุแห่งความงาม แบ่งออก เป็น 3 ชนิด
1. ความงาม(Beauty)
2. ความแปลกหูแปลกตา(Picture squeness)
3. ความน่าทึ่ง(Sublimity)
สุนทรียธาตุ ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศิลปกรรม และธรรมชาติ รับรู้ด้วยอารมณ์และความรู้สึกให้คุณค่าในทางบวก เช่น ความเพลิดเพลิน สุนทรียธาตุจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือ หรือแนวทางหนึ่งในการแสวงหาความสุขของมนุษย์

5. ท่านมีวิธีตัดสินความงามอย่างไร
ตอบ โดยใช้หลักนักปรัชญา
1. ปรนัยนิยม (Objectivelism) คือ การตัดสินใจโดยยึดหลักมาตรฐานที่อยู่ในสภาวะของ อเทสะเป็นสำคัญ
2. อัตนัยนิยม (Subjectivelism) คือมนุษย์เป็นผู้ตัดสินทุกอย่าง

6.ให้ท่านยกตัวอย่างการตัดสินใจความงามของนักปรัชญา กลุ่มต่างๆมาอย่างน้อย 3 กลุ่ม
ตอบ การตัดสินใจแบบปรนัยนิยม
Plato ความงามมาตรฐาน มีอยู่อย่างปรนัยในโลกแห่งมโนคติ ศิลปินเป็นผู้ระลึกได้ใกล้เคียงมากเป็นพิเศษ
Aristotle ความงามอยู่ที่ความกลมกลืนของสัดส่วน เพราะสัดส่วนทำให้เกิดการผ่อนคลายของประสาท และอวัยวะต่างๆ ความยิ่งใหญ่ของศิลปินอยู่ที่ความสามารถในการค้นพบ ความงามและความกลมกลืน มาถ่ายทอดลงในสื่อ
การตัดสินแบบอัตนัยนิยม
A. Richarts ศิลปะไม่มีหน้าที่ในการสอบหรือชี้แจง ลักษณะของสิ่งของแต่มีหน้าที่ทำให้ผู้มีประสบการณ์ทางสุนทรียธาตุ มีสุขภาพจิตดี ความงามเป็นสิ่งไม่ต่ยตัวขึ้นอยู่กับคนแต่ละคน
Theodurrlipps and Velman be สุนทรียธาตุเกิดจากการที่ศิลปิน หรือผู้ชมแทรกความรู้สึกของตนไปในศิลปกรรม ศิลปินแต่ละคนจะมีประสบการณ์ ทางสุนทรียะต่างกัน

7. ท่านคิดว่า “คุณค่า” กับ “คุณสมบัติ” เหมือนกันหรือแตกต่างอย่างไร
ตอบ คุณค่าเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้น และมีคุณค่าในตัวมันเอง คุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ความแข็ง เหลว ร่วน คุณสมบัติย่อมมีลักษณะคุณค่าด้วย ดังนั้นคุณค่ากับคุณสมบัติควรเหมือนกัน

8. คุณค่ามีกี่แบบ และแต่ละแบบมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ คุณค่ามี 2 แบบ คือ
1. คุณค่าในตัว (Intrinsic value)
2. คุณค่านอกตัว ( Extrinsin value )
คุณค่าในตัว เราต้องการสิ่งนั้น เพราะตัวของสิ่งนั้นเองมิใช่เป็นเครื่องมือให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่น เช่น การมีสุขภาพดี แข็งแรง มีความสุขทางจิตใจ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง
คุณค่านอกตัว เราต้องการสิ่งนั้นมิใช่เพราะตัวสิ่งนั้น แต่เพระสิ่งนั้นเป็นเครื่องมือหรือวิถีทำให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่น เช่น ต้องการเงินเพราะเงินสามารถนำไปจับจ่ายซื้อของต่างๆได้ เราต้องการอาหารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ต้องการยาเพื่อรักษาโรคต้องการศึกษา เล่าเรียน เพื่อมีความรู้ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การให้คุณค่าแก่สิ่งต่างๆ ทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ และสิ่งเดียวกัน บางครั้งก็อาจทำให้คุณค่าทั้ง2ประเภท
9. คำว่า "พยาบาล" กับ "ความเป็นพยาบาล" แตกต่างและสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ พยาบาลมีกรอบในการทำงานที่แน่นแน มีเงินเดือน มีหน้าที่ สถานที่ทำงาน ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพนี้ต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านการพยาบาล การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ความเป็นพยาบาลจะต้องไม่มีสิ่งที่ไม่เจือปน ดูแลหรือช่วยเหลือบุคคลอื่นด้วยความเมตตากรุณาปราณี เอื้ออาทร โอบอ้อมอารี มีความปารถนาดี ต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์จากการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่รังเกียจ ไม่ดูถูกดูแคลนให้ความเสมอภาคในการดูแลรักษาผู้ป่วยเท่าเทียมกัน

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550

คำถามสุนทรียศาสตร์

1. ถ้าคุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ของเหลว ร่วน แข็ง ก็ย่อมเป็นลักษณะของคุณค่าด้วย?
ตอบ หากเรากำหนดให้คุณค่าหมายถึง คุณสมบัติดังเช่นตัวอย่าง นั่นก็หมายความว่า คุณสมบัติก็เป็นลักษณะหรือเป็นส่วนประกอบของคุณค่าด้วยเช่นกัน แต่ความเหลว ความร่วน ความแข็ง เป็นสิ่งที่มนุษย์รับรู้ได้จากสิ่งเร้าหรือการรับสัมผัส ตัดสินว่ามันเป็นสิ่งที่เห็นจริง ๆ

2. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองเป็นคนละเรื่องของคุณสมบัติ คุณค่าควรจะอยู่ที่ใด ?
ตอบ อยู่ที่อารมณ์และความรู้สึกของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะรู้สึกว่าอย่างไรกับสิ่งเร้า แล้วตัดสินใจว่า สิ่งนั้นมีคุณค่าในตัวมันเองหรือไม่
3. ถ้าคุณค่าของตัวมันเอง หมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น
ตอบ ถ้าคุณค่าหมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น นั้นคือ คุณค่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุเพียงอย่างเดียวแต่คุณค่ามีความสัมพันธ์กับจิตใจ คือ ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นลอย ๆ แต่เมื่อสิ่งนั้นเอื้อประโยชน์กับสิ่งอื่น ๆ ก็แสดงว่า สิ่งนั้นมีคุณค่ามีอิทธิพลต่อสิ่งอื่น ๆ หรือมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะด้านบวกและด้านลบก็ตามแสดงว่าคุณค่ามีความสัมพันธภาพกับจิตใจ หรือเกิดจากจิตใจมนุษย์กับวัตถุด้วยเช่นใจ

4. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึงการดำรงอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด?
ตอบ ถ้าหากเงื่อนไขบกว่าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึง การดำรงอยู่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดหรือไม่มีผลต่อสิ่งใด ทั้งทางตรงและทางอ้อม คุณค่าในตัวของมันเองก็มีได้เพราะคุณค่าถูกกำหนดจากมนุษย์ขึ้นมาเท่านั้นเอง จะนำมาใช้หรือไม่นำมาใช้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ความมีคุณค่าก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่คำกล่าวที่ว่าสรรพสิ่งใดในโลกจะอยู่ไม่ได้เลยถ้าไม่มีสัมพันธ์กับสิ่งใดนั้นเป็นการแสดงว่า จิตใจเรามีปฏิกริยากับสถานการณ์หรือวัถตุขณะนั้นแล้วเรานำความรู้สึกหรือการได้รับรู้อารมณ์มาปรุงแต่งทำให้เกิดเป็นสัมพันธภาพระหว่างกัน ก็เลยมองว่า ทุกสิ่งในโลกมีความสัมพันธ์ต่อกัน

5. การพิจารณาปัญหาคุณค่าแบบโดด ๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด?
ตอบ การพิจารณาปัญหาอื่น ๆ กับปัญหาคุณค่าเป็นเพียงการตัดสินในเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด ถ้าคิดว่าคุณค่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ กับความหมายว่าปัญหาของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ แต่จิตนิยมบอกว่าขึ้นอยู่กับจิตใจและความรู้สึกของคนที่ตัดสินซึ่งไม่เหมือนกันทุกคนบางคนอาจจะคิดว่าเป็นปัญหาของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่บางคนอาจจะคิดว่าปัญหาเกิดขึ้นเพราะเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสิ่งนั้น

สรุป จากคำถามทั้งหมดไม่สามารถหาคำตอบได้ตายตัวแน่นอนขึ้นอยู่กับว่าเรากำหนดให้เงื่อนไขนั้นเป็นอย่างไรและมุมมองของแต่ละคนที่แตกต่างกันก็ทำให้ความคิดเห็นของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วย การตัดสินคุณค่าในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกของแต่ละคนวัตถุบางอย่างอาจมีคุณค่ามากสำหรับคนหนึ่งแต่อาจจะหาคุณค่าไม่ได้เลยสำหรับอีกคนหนึ่งก็ได้ คุณค่าของความงามจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจมนุษย์และความสัมพันธภาพกับวัตถุรับสัมผัส ในขณะนั้น

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์

1. สุนทรียศาสตร์(Aesthetics)คืออะไร ?
ความหมายของสุนทรียศาสตร์ ( Aesthetics ) สุนทรียศาสตร์ มีผู้ให้ความหมายของคำไว้หลายท่าน ดังตัวอย่างต่อไปนี้สุนทรียศาสตร์ เป็นปรัชญาสาขาหนึ่ง ที่ว่าด้วยความงามและสิ่งที่งามทั้งในงานศิลปะและในธรรมชาติ โดยศึกษาประสบการณ์ คุณค่าความงามและมาตรฐานในการวินิจฉัยว่า อะไรงาม อะไรไม่งาม (ราชบัณฑิตยสถาน,2532:4)สุนทรียศาสตร์ เป็นวิชาว่าด้วยสิ่งที่สวยงามหรือไพเราะ คำว่า Aesthetics มาจากภาษากรีกว่า Aisthetikos = รู้ได้ด้วยผัสสะ สุนทรียธาตุ (Aesthetics Elements) ซึ่งมีอยู่ 3 อย่างคือ ความงาม (Beauty) ความแปลกหูแปลกตา (Picturesqueness) และความน่าทึ่ง (Sublimity) (กีรติ บุญเจือ, 2522 : 263)

สุนทรียศาสตร์ เดิมเรียกว่า วิทยาศาสตร์ของเยอรมัน (The German Science) เนื่องจากตลอดระยะสองศตวรรษที่ผ่านมา เยอรมันมีผลงานทางด้านสุนทรียศาสตร์มากว่าผลงานของประเทศอื่น ๆ สามประเทศรวมกัน ผลงานด้านสุนทรียศาสตร์ของเยอรมัน มีทั้งความเรียง วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก วิทยานิพนธ์ปริญญาโท และความความที่เกี่ยวข้องมากมาย ปราชญ์ของประเทศอื่นไม่มีใครกล่าวถึงความงาม (Beauty) แต่ประการใด สุนทรียศาสตร์เริ่มมีความหมายแบบสมัยใหม่ในลักษณะเป็นสาขาของปรัชญา เริ่มจากเรื่อง The Aesthetica ของเบาว์มการ์เทน (Alexander Gottieb Baumgarten) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1750 (Schiller, 1974 : 4-5) และซันตายานา (George Santayana) ก็ได้กล่าวไว้ว่าการที่สุนทรียศาสตร์ได้รับความสนใจน้อยไม่ใช่เพราะวิชาสุนทรียศาสตร์ไม่สำคัญ แต่เป็นเพราะมนุษย์ขาดแรงจูงใจที่จะค้นถึงความถูกต้อง ความจริง และใช้ความพยายามน้อยไปที่จะทำการศึกษา ความสำเร็จจึงน้อยไปด้วย (Santayana, 1896 : 6) กระนั้นก่อนหน้าที่ เบาว์มการ์เทน จะบัญญัติศัพท์คำว่า "สุนทรียศาสตร์" ขึ้นมาเป็นเวลา 2000 กว่าปี นักปราชญ์สมัยกรีก เช่น เพลโต อริสโตเติล กล่าวถึงแต่เรื่องความงาม ความสะเทือนใจ ซึ่งเป็นความรู้สึกทางการรับรู้ (Sense Perception) ของมนุษย์ ปัญหาที่พวกเขาโต้เถียงกันได้แก่ ความงามคืออะไร ค่าของความงามนั้นเป็นจริงมีอยู่โดยตัวของมันเองหรือไม่ หรือว่าค่าของความงามเป็นเพียงความข้อความที่เราใช้กับสิ่งที่เราชอบ ความงามกับสิ่งที่งามสัมพันธ์กันอย่างไร มีมาตรการตายตัวอะไรหรือไม่ที่ทำให้เราตัดสินใจได้ว่าสิ่งนั้นงามหรือไม่งาม เบาว์มการ์เทน มีความสนใจในปัญหาเรื่องของความงามนี้มาก เขาได้ลงมือค้นคว้ารวบรวมความรู้เกี่ยวกับความงามที่กระจัดกระจายอยู่มาไว้ในที่เดียวกัน เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความงามให้มีเนื้อหาสาระที่เข้มแข็งขึ้น แล้วตั้งชื่อวิชาเกี่ยวกับความงามหรือความรู้ที่เกี่ยวกับความรู้สึกทางการรับรู้ว่า Aesthetics โดยบัญญัติจากรากศัพท์ภาษากรีก Aisthetics หมายถึง ความรู้สึกทางการรับรู้ หรือการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense perception) สำหรับศัพท์บัญญัติภาษาไทย ก็คือ "สุนทรียศาสตร์" จากนั้นวิชาสุนทรียศาสตร์ ก็ได้รับความสนใจเป็นวิชาที่มีหลักการเจริญก้าวหน้าขึ้น สามารถศึกษาได้ถึงระดับปริญญาเอก ด้วยเหตุผลนี้ เบาว์มการ์เทน จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ฐานะที่เติมเชื้อไฟแห่งสุนทรียศาสตร์ที่กำลังจะมอดดับให้กลับลุกโชติช่วยขึ้นมาอีกวาระหนึ่ง (ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. 2538 ; 1)

สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) เป็นเนื้อหาว่าด้วยการศึกษาเรื่องมาตรฐานของความงามในเชิงทฤษฎีอันเกี่ยวกับประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ กฎเกณฑ์ทางศิลปะ สุนทรียศาสตร์นับว่าเป็นแขนงหนึ่งของปรัชญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การแสวงหาคุณค่า (Axiology) ในสมัยก่อนวิชานี้เป็นที่รู้จักกันในรูปของวิชา "ทฤษฎีแห่งความงาม(Theory of Beauty) หรือปรัชญาแห่งรสนิยม (Philosophy of taste)

สุนทรียศาสตร์ เป็นคำมาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า"สุนทรียะ" แปลว่าดี งาม สุนทรียศาสตร์จึงมีความหมายตามรากศัพท์ว่าวิชาที่ว่าด้วยความงาม ในความหมายของคำเดียวกันนี้ นักปราชญ์ ชาวเยอรมันชื่อAisthetics Baumgarten (1718 - 1762) ได้เลือกคำในภาษากรีกมาใช้คำว่า Aisthetics ซึ่งหมายถึงการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense Perception) เป็นวิชาเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีแห่งความงามตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics ส่วนในภาษาไทยใช้คำว่าสุนทรียศาสตร์หรือวิชาศิลปะทั่วไป ดังนั้น จึงถือว่าศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์หรือเมื่อกล่าวถึงสุนทรียศาสตร์เมื่อใดก็มักจะเกี่ยวข้องกับงานศิลปะนั่นเอง


สรุป สุนทรียศาสตร์”
หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยความงาม ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึง ความงามทั้งทางธรรมชาติ และความงามที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรม ตลอดจนรวมถึง ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับความรู้สึกทั้งสุข และทุกข์

2.สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร ?
-ช่วยเสริมสร้างความเจริญทางปัญญาจนสามารถหยั่งเห็นสัจธรรมและคุณค่าของความงาม
-ช่วยเสริมสร้างความเจริญทางอารมณ์ โดยสามารถควบคุมอารมณ์ และการแสดงออกในทางที่ถูกต้อง และสามารถปรับตัวให้เข้าสังคมได้อย่างเป็นสุข
-ช่วยเสริมสร้างการรับรู้ให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์จนเกิดคุณค่าทางด้านสุนทรียภาพ

3.สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร?
สุนทรียศาสตร์ มีประโยชน์อย่างมากในวิชาชีพพยาบาล เนื่องจาก การพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและความอดทนอย่างสูง ซึ่งจากประโยชน์ของสุนทรียศาสตร์ สามารถสร้างความเจริญทางอารมณ์ โดยสามารถควบคุมอารมณ์ และการแสดงออกในทางที่ถูกต้อง และสามารถปรับตัวให้เข้าสังคมได้อย่างเป็นสุขซึ่งจะเห็นได้ว่าศิลปะ และความสวยงาม จะช่วยเสริมสร้างอารมณ์ของผู้ที่รักชอบศิลปะ ในเป็นผู้ที่มีจิตใจและอารมณ์ร่าเริงอยู่เสมอ

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จิตรกรรม

จิตรกรรม ...... เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกรรม
ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปี เป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว์ ภาพวาด ได้แก่ ภาพที่ได้มาจากการเขียน การวาด ซึ่งอาจจะเป็นการวาดจากจิตรกรหรือผู้เขียนภาพสมัครเล่นปัจจุบันได้มีการนำอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเขียนภาพและวาดภาพ ที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากมาใช้ ผู้เขียนภาพจึงจึงอาจจะใช้อุปกรณ์ต่างๆมาใช้ในการเขียนภาพ ภาพวาดในสื่อสิ่งพิมพ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2ประเภท คือ ภาพวาดลายเส้นและการ์ตูน
ทัศนศิลป์ คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการความคิดสร้างสรรค์มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอนการสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นต่อเนื่อง
ทัศนศิลป์ คือ การรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ
และสรรพสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่งหรือ
เคลื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ ตามก่อให้ เกิด ปัจจัยสมมุติต่อจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตามทัศนศิลป์เป็นการแปล ความหมายทางศิลปะที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมองของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะทัศน์ศิลป์นั้นแนวคิดทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมอง ได้แก่รูปภาพวิวทิวทัศน์ทั่วไปเป็นสำคัญอันดับต้นๆ รูปภาพคนเหมือน ภาพล้อ ภาพสิ่งของต่างๆก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้ากล่าวว่าทัศนศิลป์เป็นความงามทางศิลปะที่ได้จากการมอง หรือ ทัศนา นั่นเอง

ภาพ :กษัตริย์สามัคคี
เราอาจแบ่งหมวดหมู่ทัศนศิลป์ได้ ดังนี้
-จิตรศิลป์ จะเน้นด้านความงามเป็นสำคัญ เช่น ภาพลายไทย ภาพตามผนังวัด หรือภาพพุทธศิลป์ต่างๆ
-ประยุกต์ศิลป์ ได้แก่ ศิลปะที่สามารถเข้าไปใช้สอยได้ เช่น สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม มัณฑณศิลป์ รวมทั้งเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้เป็นภาชนะ
-พาณิชย์ศิลป์ ส่วนใหญ่เน้นในด้านเชิงธุรกิจการค้า ภาพโฆษณา บางครั้งจะไม่ตรงตามหลักการทางศิลปะตามที่ท่านอาจารย์ผู้รู้ด้านศิลปะได้สั่งสมบอกสอนกันมา

จิตรกรรมไทย Thai Painting

จิตรกรรมไทย (Thai Painting)
จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่าง จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านด้านรูปแบบ และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต

ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกระหนก ลายกระจัง ลายเครือเถาเป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น
จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์ อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดี งามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่มพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป

วิวัฒนาการของงานจิตรกรรมไทยแบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ

1.จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional Painting)เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม แสดงความรู้สึกชีวิติจิตใจและความเป็นไทย ที่มีความอ่อนโยน ละมุนละไม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนได้ลักษณะประจำชาติ มีลักษณะประจำชาติที่มีลักษณะ และรูปแบบเป็นพิเศษ นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง เช่น โบสร์วิหาร วัง เป็นต้น บนผืนผ้า บนกระดาษ และบนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ
2. จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย(Thai Contempolary Painting)จิตรกรรมไทยร่วมสมัยเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของโลก ความเจริญทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์ การปกครอง การรับรู้ข่าวสาร ความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่างไกล ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและแนวทางการแสดงออกของศิลปินในยุคต่อๆ มาซึ่งได้พัฒนาไปตามสภาพเวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด และความนิยมในสังคม สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่ง อย่างมีคุณค่า เช่นดียวกัน อนึ่ง สำหรับลักษณะเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยร่วมสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแนวทางเดียวกันกับลักษณะศิลปะแบบตะวันตกในลัทธิต่างๆ ตามความนิยมของศิลปินแต่ะละคน

ความสำคัญของจิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทยเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแบบสหวิทยาการ ถือได้ว่าเป็นแหล่งขุม ความรู้โดยเฉพาะเรื่องราวจากอดีตที่สำคัญยิ่ง แสดงให้เห็นถึงความเป็นชนชาติที่มี อารยธรรมอันเก่าแก่ ยาวนาน ประโยชน์ของงานจิตรกรรมไทย
นอกจากจะให้ความ สำคัญในเรื่องคุณค่าของงานศิลปะแล้ว ยังมีคุณค่าในด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังนี้
1. คุณค่าในทางประวัติศาสตร์
2. คุณค่าในทางศิลปะ
3. คุณค่าในเรื่องการแสดงเชื้อชาติ
4. คุณค่าในทางสถาปัตยกรรม
5. คุณค่าในเชิงสังคมวิทยา
6. คุณค่าในด้านโบราณคดี
7. คุณค่าในการศึกษาประเพณีและวัฒนธรรม
8. คุณค่าในการศึกษาเรื่องทัศนคติค่านิยม
9. คุณค่าในการศึกษานิเวศวิทยา
10.คุณค่าในการศึกษาเรื่องราวทางพุทธศาสนา
11.คุณค่าในทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว